เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)

Week 1

เป้าหมายรายสัปดาห์  นักเรียนสามารถปรับตัวเข้ากับวิถีของโรงเรียน เกิดความใคร่รู้เรื่องไดโนเสาร์และสามารถเลือกเรื่องที่อย่างเรียนรู้พร้อมบอกเหตุผลได้
Week
Input
Process
Output
Outcome
1
25 – 28  
. ค. 59
โจทย์ :
ปรับตัว / สร้างแรง
Key  Question  :
นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องอะไรมากที่สุด?
เครื่องมือคิด
Brainstorms :
ครูและนักเรียนร่วมสนทนาพูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้พบเห็นเกี่ยวกับกิจกรรม Home school day
Wall Thinking : 
ปั้นดินน้ำมันรูปไดโนเสาร์
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- บรรยากาศในบริเวณโรงเรียน
-นิทานเรื่อง “โป๊งเหน่งเกเร”
วันอังคาร ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
ครูทบทวนวิถีพร้อมสร้างข้อตกลงในการอยู่ร่วมกัน
- ครูพานักเรียนเดินสำรวจเพื่อสังเกตสิ่งมีชีวิตต่างๆรอบบริเวณโรงเรียน
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนสังเกตเห็นอะไร,  แต่ละสิ่งมีความเหมือนหรือต่างกันอย่างไร?”
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่พบเห็นจากการสำรวจรอบๆ บริเวณโรงเรียน
ใบงานวาดภาพวันแรกที่หนูมาเรียน
ใช้ :
ปั้นดินน้ำมันรูปไดโนเสาร์


วันพุธ ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
ครูทบทวนวิถีพร้อมสร้างข้อตกลงในการอยู่ร่วมกัน
- ครูเล่านิทานเรื่อง โป๊งเหน่งเกเร เพื่อสร้างแรงให้นักเรียนอยากเรียนเรื่องไดโนเสาร์ และเชื่อมโยงเข้าสู่ กิจกรรม Home school day
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “ นักเรียนเห็นอะไรบ้าง, ตัวละครมีใครบ้าง, แต่ละคนเป็นอย่างไร, ถ้านักเรียนเป็นโป๊งเหน่งนักเรียนจะทำอย่างไร?”
เชื่อม :
- ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับกิจกรรม Home school day  
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “ การบ้านในช่วงปิดภาคเรียนของนักเรียนคืออะไร,  นักเรียนรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับไดโนเสาร์, ไดโนเสาร์อยู่ที่ไหน, นักเรียนคิดว่าบ้านของไดโนเสาร์จะมีลักษณะอย่างไร? ”
- ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนร่วมแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ระหว่างปิดภาคเรียน
ใช้ :
นักเรียนประดิษฐ์ Model ที่อยู่อาศัยของไดโนเสาร์ “ภูเขา, ต้นไม้, บรรยากาศ”


วันพฤหัสบดี ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
- ครูพานักเรียนเดินสำรวจแหล่งน้ำที่มีปลาอยู่ภายในบริเวณโรงเรียน
- ครูพานักเรียนเล่นเกม “ลมเพลมพัด...ไดโนเสาร์แปลงกาย” เพื่อนเสริมแรงให้นักเรียนอยากเรียนเรื่องของโดโนเสาร์มากยิ่งชึ้น
เชื่อม :
ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “ นักเรียนแปลงกายเป็นใครบ้าง, นักเรียนคิดว่านักเรียนคิดว่ามีสัตว์ชนิดใดบ้างที่มีลักษณะคล้ายกับไดโนเสาร์?
ใช้  :
นักเรียนประดิษฐ์ Model ที่อยู่อาศัยของไดโนเสาร์ “ภูเขา, ต้นไม้, บรรยากาศ”


วันศุกร์ ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
-  ครูเล่านิทานเรื่อง “ไดโนเสาร์พันธุ์กินเนื้อ ” เพื่อสร้างแรงให้นักเรียนอยากเรียนเรื่องไดโนเสาร์และเชื่อมโยงให้นักเรียนเลือกสิ่งที่อยากเรียนรู้
เชื่อม :
- ครูและนักเรียนสนทนาร่วมกันเกี่ยวกับนิทานที่ได้ฟัง
-  ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิดในนิทานมีตัวละครใดบ้างเกิดอะไรขึ้นบ้าง
ชง : 
ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องอะไรมากที่สุดทำไมถึงอยากเรียนรู้เรื่องนั้น
เชื่อม : 
ครูและนักเรียนร่วมระดมความคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อยากเรียนรู้มากที่สุด โดยใช้เครื่องมือการคิด Card & chart จากนั้นครูจัดหมวดหมู่สิ่งที่นักเรียนอยากเรียนรู้
ชง : 
ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด นักเรียนจะตั้งชื่อหน่วยว่าอย่างไรให้น่าสนใจ
เชื่อม : 
ครูและนักเรียนร่วมกันแลกเปลี่ยนนำเสนอชื่อหน่วยโดยใช้เครื่องมือ Blackboard Share
ใช้  :  
นักเรียนวาดรูปสิ่งที่อยากเรียนรู้
ภาระงาน
การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่พบเห็นจากการเดินสำรวจรอบๆ บริเวณโรงเรียน
- ครูเล่านิทานเรื่อง โป๊งเหน่งเกเร
- ครูพานักเรียนเดินสำรวจสิ่งมีชีวิตต่างๆรอบบริเวณโรงเรียน
ชิ้นงาน
- ใบงานวาดภาพสิ่งที่ได้จากการเดินสำรวจ
ปั้นดินน้ำมันรูปไดโนเสาร์
- Modelที่อยู่อาศัยของไดโนเสาร์ “ภูเขา, ต้นไม้, บรรยากาศ”
ความรู้
นักเรียนสามารถปรับตัวเข้ากับวิถีของโรงเรียน เกิดความใคร่รู้เรื่องไดโนเสาร์และสามารถเลือกเรื่องที่อย่างเรียนรู้พร้อมบอกเหตุผลได้ ทักษะ
ทักษะชีวิต
เลือกใช้เครื่องมือ เช่น ดินสอ สี กระดาษ ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม
- สามารถปรับตัวและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้
สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและดูแลตนเองได้
ทักษะการคิด
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเดินสำรวจและการฟังนิทาน รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิต ประจำวันของตนเองได้
- การคิดสร้างสรรค์ทำชิ้นงาน/ภาระงาน
คิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่มและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม เข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม ครู ผู้ปกครองหรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ
คุณลักษณะ :
เคารพสิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงานกระตือรือร้นในการเรียนรู้มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน









ภาพกิจกรรม








































1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอน


    สัปดาห์แรกของการเรียนรู้ยังอยู่ในกระบวนการปรับตัวและทบทวนวิถีของน้องๆ อนุบาล 1 และสร้างแรงเพื่อให้นักเรียน อยากเรียนรู้เรื่อง ไดโนเสาร์ และเชื่อมโยงครสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ครูจึงสร้างแรงโดยการพานักเรียนเดินสำรวจรอบๆ บริเวณโรงเรียน และสำรวจสิ่งมีชีวิตในโรงเรียน การเล่นเกม ในสัปดาห์แรกนักเรียนได้ทำกิจกรรมตลอดทั้งสัปดาห์นี้นักเรียนทุกคนให้ความสนใจ สำหรับการสร้างแรงใน Quarter นี้ ง่ายต่อการสร้าวแรง เพราะเป็นเรื่องที่น้องให้ความสนใจอยู่แล้ว น้องๆ สามารถบอกชื่อของไดโนเสาร์บางชนิดได้ เช่น
    น้องรัก : ไดโนเสาร์ T-rex กินเนื้อ
    น้องนมะ : ไดโนเสาร์กินเนื้อฟังจะแหลม เพราะเอาไว้กินเนื้อ
    น้องคเชนทร์ : บ้านของไดโนเสาร์มีภูเขาไฟด้วย
    น้้องโอ๊ต : พี่ไดโนเสาร์ตัวใหญ่มากๆ มีร่างกายแข็งแรง
    น้องเนส : พี่ไดโนเสาร์น้ารัก
    น้องรัก : สเตโกซอรัส มีครีบที่หลังเหมือนพี่ปลาเลย

    กิจกรรม Home school day น้องๆ ได้ประดิษฐ์ไดโนเสาร์หลากหลายรู้แบบ โดยทำจากวัสดุเหลือใช้และจากธรรมชาติ มีไดโนเสาร์ของเพื่อนชำรุดเสียหาย จึงได้คุยเพื่อสร้าข้อตกลงในการดูและไดโนเสาร์ คุณครูตั้งคำถาม "หากนักเรียนไม่ช่วยกันดูและพี่ไดโนเสาร์ จะเกิดอะไรขึ้น"
    น้องเนส : พี่ไดโนเสาร์ก็นะอยู่กับเราไม่นาน
    น้องดาว : พี่ไดโนเสาร์ก็จะเสียใจ และเจ็บ
    น้องแหนม : เราต้องช่วยกันดูแลพี่ได้โนเสาร์ ดูได้แต่เราต้องไม่ทำพี่ไดโนเสาร์

    คูณครูตั้คำถาม "แล้วถ้าหาพี่ไดโนเสาร์เกกิดการชำรุดเสียหาย นักเรียนจะช่วยดูและพี่ไดโนเสาร์อย่างไร
    น้องนมะ : ช่วยหกันซ่อมพี่ไดโนเสาร์ครับ
    น้องโอ๊ต : เราต้องใช้กาวติดให้ชิ้นส่วนพี่เค้าต่อกันเหมือนเดิม

    คุณครูตั้งคำถาม "ถ้ากาวติดไม่อยู่เด็กๆ คิดว่าจะใช้อะไรติดได้บ้าง
    น้องเนส : ใช้ดินน้ำมันมาปั้นต่อกันครับ
    น้องดาว : ใช้พี่กาวสองหน้าติดค่ะ

    จากนั้นน้องๆ ก็ช่วยกันซ่อมพี่ไดโนเสาร์ที่ชำรุดเสียหายโดยใช้วิธีที่ต่างกันได้สำเร็จ น้องๆ สนุกสนานกับกิจกรรมที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นการเดินสำรวจแหล่งน้ำที่อยู่ในโรงเรียนและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ นอกจากไโนเสาร์ นักเรียนสนุกสนานกับการฟังนิทาน การปั้นดินน้ำมัน และวาดภาพวันแรกที่นักเรียมมาเรียนจากการเดินสำรวจ ทุกคนทำได้ดีมากค่ะ

    ตอบลบ