เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)

Week 4

เป้าหมายรายสัปดาห์  :  นักเรียนเข้าใจโครงสร้างภายใน(ฟอสซิล)และภายนอกสามารถอธิบายโครงสร้างและเชื่อมโยงเข้าสู่อวัยวะส่วนต่างๆ ได้
Week
Input
Process
Output
Outcome
4
14  – 18
พ.ย. 59
โจทย์ :  
โครงสร้างไดโนเสาร์
Key  Question :  
โครงสร้างภายในและภายนอกของไดโนเสาร์ เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร?
เครื่องมือคิด
Brainstorms : 
นักเรียนระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงสร้างของคนสัตว์ และพืช
Show and Learn : 
นำเสนอชิ้นงานปั้นดินน้ำมันสิ่งชีวิตที่มีความคล้ายกับไดโนเสาร์
Wall  Thinking :  
เขียน  Web โครงสร้าง (อวัยวะ) ของไดโนเสาร์ พร้อมเขียนคำศัพท์ประกอบชื่ออวัยวะ
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- เกมแสดงท่าทางต่างๆจากบัตรคำ
- เพลง " ไดโนเสาร์  "
ไดโนเสาร์อยู่ด้วยกันมากหลาย
ในป่าในถ้ำกินผักมากมาย
สี่ขาสองขาคอยาวมีลาย
ทุกตัวสุขสบายเราคือเพื่อนรักกัน
วันจันทร์  ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
ครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ครูนำแผ่นภาพจิ๊กซอว์พัสเซิลรูปไดโนเสาร์มาให้นักเรียนสังเกตและต่อเติมชิ้นส่วนที่ขาดหายไป
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนเห็นอะไรบ้าง, โครงกระดูกของไดโนเสาร์มีอวัยวะใดบ้าง?”
เชื่อม :
- ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับแผ่นภาพจิ๊กซอว์พัสเซิลรูปไดโนเสาร์
ใช้ :
ต่อเติมรูปภาพชิ้นส่วนโครงกระดูกของไดโนเสาร์น้อย

อังคาร (  1 ชั่วโมง )
ชง :
- ครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้เมื่อวาน
- ครูและนักเรียนร่วมกันร้องเพลง “ ตา หู จมูก ” เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่ลักษณะของคน เพื่อเชื่อมโยงไปสู่โครงสร้างของไดโนเสาร์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด ร่างกายของไดโนเสาร์ประกอบด้วยอวัยวะส่วนใดบ้าง? , มีส่วนใดบ้างของร่างกายเราและไดโนเสาร์ที่มีเหมือนกัน
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับรูปร่างลักษณะของคน เพื่อเชื่อมโยงไปสู่โครงสร้างของไดโนเสาร์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ
ใช้
นักเรียนเขียน  Web โครงสร้าง (อวัยวะ) ของไดโนเสาร์
วันพุธ ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
- ครูเล่านิทานเรื่อง.......................................
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “ในนิทานมีใครบ้าง,  เกิดอะไรขึ้นกับ..................,  ถ้าเป็นนักเรียนจะทำอย่างไร?”
เชื่อม :
ครูและนักเรียนสนทนาระดมคาวามคิดเกี่ยวกับนิทานเรื่อง........................... เชื่อมโยงเข้าสู่โครงสร้างของสัตว์อื่นๆ
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด นักเรียนรู้จักสัตว์ชนิดใดบ้าง, สัตว์แต่ละชนิดมีความเหมือนหรือต่างกับนักเรียนอย่างไร, มีสัตว์ชนิดใดบ้างที่มีโครงสร้างคล้ายกับไดโนเสาร์, นักเรียนสังเกตจากส่วนใด?”
ใช้ :
ชิ้นงานประดิษฐ์ไดโนเสาร์น้อย


วันพฤหัสบดี (1 ชั่วโมง )
ชง :
- ครูและนักเรียนร้องเพลง “ไดโนเสาร์”เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่โครงสร้างของไดโนเสาร์
-  ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “ในเพลงพูดถึงใครบ้าง, บ้านของไดโนเสาร์อยู่ที่ไหน?”
เชื่อม :
-  ครูและนักเรียนร่วมสนทนาระดมความคิดเกี่ยวกับเพลง “ ไดโนเสาร์”
ใช้ :
นักเรียนตกแต่งบ้านไดโนเสาร์น้อย

วันศุกร์  ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
- ครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “ ในสัปดาห์นี้นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง?”
-ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “ ได้โนเสาร์ คน สัตว์ พืช มีโครงสร้างที่เหมือนหรือต่างกันอย่างไร?”
เชื่อม :
- ครูและนักเรียนร่วมสนทนาระดมความคิดเกี่ยวกับโครงสร้างของไดโนเสาร์ คน สัตว์ พืช และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ
ใช้ :
นักเรียน Show and Learn ชิ้นงาน เขียนWeb โครงสร้าง (อวัยวะ) ของไดโนเสาร์


ภาระงาน
พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำ
แสดงความคิดเห็นเกี่ยว
กับเพลงและนิทานที่ได้ฟัง
แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงสร้างของคน,สัตว์ และพืช / หน้าที่ของอวัยวะต่างๆ
ชิ้นงาน
-  ปั้นดินน้ำมันสิ่งชีวิตที่มีความคล้ายกับไดโนเสาร์
- ต่อเติมรูปภาพชิ้นส่วนโครงกระดูกของไดโนเสาร์น้อยพร้อมเขียนคำศัพท์ประกอบชื่ออวัยวะ
- ประดิษฐ์ไดโนเสาร์น้อยแปลงกาย(ต่อยอดจากการต่อเติมโครงกระดูกของไดโนเสาร์น้อย)

ความรู้ : นักเรียนเข้าใจโครงสร้างภายใน(ฟอสซิล)และภายนอกสามารถอธิบายโครงสร้างและเชื่อมโยงเข้าสู่อวัยวะส่วนต่างๆ ได้
ทักษะ
ทักษะชีวิต
เลือกใช้เครื่องมือ เช่น ดินสอ สี กระดาษ ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม
- สามารถปรับตัวและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้
สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและดูแลตนเองได้
ทักษะการคิด
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเดินสำรวจและการฟังนิทาน รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิต ประจำวันของตนเองได้
- การคิดสร้างสรรค์ทำชิ้นงาน/ภาระงาน
คิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่มและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม เข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม ครู ผู้ปกครองหรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ
คุณลักษณะ :
เคารพสิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงานกระตือรือร้นในการเรียนรู้มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน





ภาพกิจกรรม














































1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอน

    ในสัปดาห์ที่ 4 น้องๆ ได้เรียนรู้เรื่องโครงสร้างภายใน(ฟอสซิล)และภายนอกสามารถอธิบายโครงสร้างและเชื่อมโยงเข้าสู่อวัยวะส่วนของ คน สัตว์ ได้ เด็กๆ อธิบายความเหมือนความต่างของไดโนเสาร์กับคนได้

    น้องนมะ : คนมีฟันไดโนเสาร์ก็มีฟัน แต่ฟันของไดโนเสาร์ใหญ่กว่าฟันของคน
    น้องดาว : ดนกับไดโนเสารมีขาเหมือนกัน แต่ไดโนเสาร์มีขาเยอะกว่าคน

    ระหว่างที่ครูและเด็กๆ ร่วมสนทนาเกี่ยวกับโครงสร้างและอวัยวะของไดโเสาร์ อยู่นั้น น้องคเชนทร์ได้ตั้งคำถามว่า "พี่ไดโนเสาร์มีหูไหมครับ"
    และในสัปดาห์นี้ พี่ออดี้ ม.3 มาร่วมสร้างการเรียนรู้การเกิดไปจนถึงการสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์ ร่วมกับน้องๆ อนุบาล1 น้องๆ ทุกคนตื่นเต้นและให้ความสนใจมากๆ เลยค่ะ น้องๆ ได้รู้จักสัตว์ที่เกิดในยุคก่อนยุคไดโนเสาร์ เช่น ผึ้ง ผีเสื้อ แมงมุม และในยุคก่อนกิ้งกืออาศัยอยู่ในน้ำ และมีขนาดตัวโตมากๆ และมนุษย์คือสิ่งมีชีวิตที่เกิดนึ้นมาในโลกช้าที่สุด ในสัปดานี้น้องๆ อนุบาล1 ทุกคนสนุกสนาน เชื่อมโยงไปถึงการเล่น การเล่นบทบาทสมมติ แปลงร่างเป็นไดโนเสาร์พันธุ์ต่างๆ ตลอดทั้งสัปดาห์น้องๆ ทำกิจกรรมได้ยอดเยี่ยมมากค่ะ

    ตอบลบ